ประวัติ รำสีนวล
รำสีนวล สีนวลเป็นชื่อของเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร โดยใช้ประกอบกิริยา
ไปมาของสตรีที่มารยาทชดช้อยสวยงาม ทำนองเพลงมีท่วงทีซ่อนความ พริ้งเพราไว้ในตัว ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ทำนองร้องประกอบการรำ ซึ่งแต่เดิมรำสีนวลเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่นำมาจากละครนอกเรื่อง “ไชยเชษฐ์” ภายหลังได้นำมาใช้แสดงเป็นระบำเบ็ดเตล็ด เนื่องจากการรำสีนวลเป็นศิลปะที่สวยงามทั้งท่ารำและเพลงขับร้อง จึงพัฒนามาเป็นชุดสำหรับจัดแสดงในงานทั่ว ๆ
บทร้องที่ใช้แสดงมีอยู่ ๓ รูปแบบ
แบบที่ ๑
แบบที่ ๒
เพลงสีนวลออกอาหนู 2 ชั้น ซึ่งเป็นเพลงจีนของเก่า
ที่ได้ดัดแปลงมาจากเพลงจีนเพลงหนึ่ง ทราบกันว่า ครูปุย ปาบุยะวาทย์
เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
นำเอาเพลงอาหนู มาประดิษฐ์ท่ารำให้เข้ากับบทร้องและทำนอง
ใช้รำต่อจากรำสีนวล เรียกว่า"สีนวลอาหนู"
แบบที่ ๓
ประพันธ์บทร้องโดย นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดุริยางค์ไทย
กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ
ดนตรีที่ใช้บรรเลง ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือ
เครื่องใหญ่ บรรเลงทำนองเพลงสีนวล และ เพลงเร็ว-ลา
ลักษณะการแต่งกาย ผู้แสดงนุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบจีบ สยายผมทัดดอกไม้ใส่เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยตัว เข็มขัดพร้อมหัวเข็มขัด รัดต้นแขน สร้อยข้อมือ และกำไลข้อเท้า
โอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงประกอบละครนอกเรื่อง “ไชยเชษฐ์ และใช้แสดงในงานมงคลต่าง ๆ แสดงเป็นหมู่หรือแสดงเดี่ยว ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น งานรื่นเริง งานเลี้ยงสังสรรค์ งานเทศกาลสำคัญ
ที่มา http://www.trueplookpanya.com
http://www.thaigoodview.com
http://nirachabim.blogspot.com
หนังสือ สารานุกรม ระบำ รำ ฟ้อน โดย คุณสุมิตร เทพเวษ์
เรียบเรียงโดย Kru.Pathamaporn URL ; https://thai-dress-rentai.blogspot.com
รำสีนวล |
รำสีนวล สีนวลเป็นชื่อของเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร โดยใช้ประกอบกิริยา
ไปมาของสตรีที่มารยาทชดช้อยสวยงาม ทำนองเพลงมีท่วงทีซ่อนความ พริ้งเพราไว้ในตัว ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ทำนองร้องประกอบการรำ ซึ่งแต่เดิมรำสีนวลเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่นำมาจากละครนอกเรื่อง “ไชยเชษฐ์” ภายหลังได้นำมาใช้แสดงเป็นระบำเบ็ดเตล็ด เนื่องจากการรำสีนวลเป็นศิลปะที่สวยงามทั้งท่ารำและเพลงขับร้อง จึงพัฒนามาเป็นชุดสำหรับจัดแสดงในงานทั่ว ๆ
บทร้องที่ใช้แสดงมีอยู่ ๓ รูปแบบ
แบบที่ ๑
แบบที่ ๒
เพลงสีนวลออกอาหนู 2 ชั้น ซึ่งเป็นเพลงจีนของเก่า
ที่ได้ดัดแปลงมาจากเพลงจีนเพลงหนึ่ง ทราบกันว่า ครูปุย ปาบุยะวาทย์
เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
นำเอาเพลงอาหนู มาประดิษฐ์ท่ารำให้เข้ากับบทร้องและทำนอง
ใช้รำต่อจากรำสีนวล เรียกว่า"สีนวลอาหนู"
แบบที่ ๓
ประพันธ์บทร้องโดย นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดุริยางค์ไทย
กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ
ดนตรีที่ใช้บรรเลง ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือ
เครื่องใหญ่ บรรเลงทำนองเพลงสีนวล และ เพลงเร็ว-ลา
ลักษณะการแต่งกาย ผู้แสดงนุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบจีบ สยายผมทัดดอกไม้ใส่เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยตัว เข็มขัดพร้อมหัวเข็มขัด รัดต้นแขน สร้อยข้อมือ และกำไลข้อเท้า
โอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงประกอบละครนอกเรื่อง “ไชยเชษฐ์ และใช้แสดงในงานมงคลต่าง ๆ แสดงเป็นหมู่หรือแสดงเดี่ยว ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น งานรื่นเริง งานเลี้ยงสังสรรค์ งานเทศกาลสำคัญ
ที่มา http://www.trueplookpanya.com
http://www.thaigoodview.com
http://nirachabim.blogspot.com
หนังสือ สารานุกรม ระบำ รำ ฟ้อน โดย คุณสุมิตร เทพเวษ์
เรียบเรียงโดย Kru.Pathamaporn URL ; https://thai-dress-rentai.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น