รำสีนวล


ประวัติ  รำสีนวล


รำสีนวลออกอาหนู
รำสีนวล


รำสีนวล   สีนวลเป็นชื่อของเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร โดยใช้ประกอบกิริยาไปมาของสตรีที่มารยาทชดช้อยสวยงาม ทำนองเพลงมีท่วงทีซ่อนความ พริ้งเพราไว้ในตัว ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ทำนองร้องประกอบการรำ ซึ่งแต่เดิมรำสีนวลเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่นำมาจากละครนอกเรื่อง “ไชยเชษฐ์” ภายหลังได้นำมาใช้แสดงเป็นระบำเบ็ดเตล็ด เนื่องจากการรำสีนวลเป็นศิลปะที่สวยงามทั้งท่ารำและเพลงขับร้อง จึงพัฒนามาเป็นชุดสำหรับจัดแสดงในงานทั่ว ๆ

บทร้องที่ใช้แสดงมีอยู่ ๓ รูปแบบ 
แบบที่ ๑
 เพลงสีนวล
  ... ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวล

สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า
รักเจ้าสาวสีนวลหวนคิดถึง (รับ)
แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคำนึง
อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล (รับ)

 ... ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา

แบบที่ ๒
     เพลงสีนวลออกอาหนู 2 ชั้น ซึ่งเป็นเพลงจีนของเก่า
ที่ได้ดัดแปลงมาจากเพลงจีนเพลงหนึ่ง ทราบกันว่า ครูปุย ปาบุยะวาทย์ 
เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
นำเอาเพลงอาหนู มาประดิษฐ์ท่ารำให้เข้ากับบทร้องและทำนอง
ใช้รำต่อจากรำสีนวล เรียกว่า"สีนวลอาหนู"
เพลงสีนวลอาหนู
...ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวล...
สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า     
รักเจ้าสาวสีนวลหวนคิดถึง ( รับ )
แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคะนึง               
อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล ( รับ )

ร้องอาหนู
 เจ้าสาวสาวสาว  สาวสะเทิ้น  (ซ้ำ)
 เจ้าค่อยเดินค่อยเดินเดินตามทาง  (ซ้ำ)
 ล้วนอนงค์ทรงสำอาง  นางสาวศรีห่มสี (ซ้ำ)
ใส่กำไล  แลวิลัย (ซ้ำ)
ทองใบอย่างดี ทองก็ดี
 ประดับสีเพชรพลอยพลอยงามดูงาม  (ซ้ำ)
ใส่ต่างหูสองหู หูทัดดอกไม้  (ซ้ำ)
สตรีใด ชนใดในสยาม  (ซ้ำ)
จะหางาม  งามกว่า  มาเทียบ ไม่เทียม (ซ้ำ)
ชวนกันเดิน พากันเดิน (ซ้ำ)
รีบเดินมา (ซ้ำ)
ร่ายรำทำท่าน่ารักเอย  (ซ้ำ)
 ...ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา...
แบบที่ ๓
          ประพันธ์บทร้องโดย นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดุริยางค์ไทย 
กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ
  เพลงสีนวล ( เนื้อใหม่ )
...ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวล...

อันการรำสีนวลกระบวนนี้
เป็นแบบที่ร้องรับไม่จับเรื่อง
เป็นการรำเริงรื่นของพื้นเมือง
เพื่อเป็นเครื่องพักผ่อนหย่อนอารมณ์
 ได้ปลดทุกข์สุขใจเมื่อไร้กิจ
เข้ารำชิดเคียงคู่ดูเหมาะสม
ขอเชิญชวนมวลบรรดาท่านมาชม
 รื่นอารมณ์ยามที่รำสีนวล
...ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา...

           ดนตรีที่ใช้บรรเลง  ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือ 
เครื่องใหญ่ บรรเลงทำนองเพลงสีนวล และ เพลงเร็ว-ลา
           ลักษณะการแต่งกาย  ผู้แสดงนุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบจีบ สยายผมทัดดอกไม้ใส่เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยตัว เข็มขัดพร้อมหัวเข็มขัด รัดต้นแขน สร้อยข้อมือ และกำไลข้อเท้า 
           โอกาสที่ใช้แสดง  ใช้แสดงประกอบละครนอกเรื่อง “ไชยเชษฐ์ และใช้แสดงในงานมงคลต่าง ๆ แสดงเป็นหมู่หรือแสดงเดี่ยว ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น งานรื่นเริง งานเลี้ยงสังสรรค์ งานเทศกาลสำคัญ

ที่มา  http://www.trueplookpanya.com
         http://www.thaigoodview.com
         http://nirachabim.blogspot.com
หนังสือ  สารานุกรม ระบำ รำ ฟ้อน โดย คุณสุมิตร เทพเวษ์
เรียบเรียงโดย Kru.Pathamaporn   URL ;   https://thai-dress-rentai.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น